วันจันทร์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2560

เชียงของประตูสู่อินโดจีน




อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย ซึ่งได้ชื่อว่าเป็น “เมืองแห่งแม่น้ำโขง” และยังเป็นอีกหนึ่งอำเภอ
ในประเทศไทยที่มีอาณาเขตติดกับประเทศลาว (สปป.ลาว) อดีตเป็นเมืองที่ไม่น่าสนใจเท่าใดนัก หากแต่ปัจจุบันเป็นเมืองที่ขึ้นชื่อเป็นอันดับต้นๆ ทางภาคเหนือ โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวที่ต้องการเดินทางข้ามไปยังแขวงบ่อแก้วประเทศลาว (สปป.ลาว) ทว่าอำเภอเชียงของไม่เพียงแต่เป็นทางผ่านเท่านั้น อำเภอแห่งนี้ยังมีสถานที่ท่องเที่ยวน่าสนใจอีกมากมายเช่น


วัดพระแก้วและวัดหลวงเป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองซึ่งเป็นวัดที่เคารพศรัทธาของคนเมืองเชียงของ (คำว่า "ของ" แปลว่าโขง) สร้างขึ้นมาตั้งแต่ครั้งตำนาน “ตำมิละ” หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “ลัวะ” ผ่านยุคสมัยต่างๆ มากมากมายล่วงจนถึง “ขรรัฐ” ก่อนจะเป็นเชียงของในปัจจุบัน


วัดแห่งนี้นั้นเดิมเคยเป็นที่ประทับของพระแก้มรกต ซึ่งชื่อของวัดก็มีความสัมพันกับเรื่องเล่าของลูกแก้วที่ลอยข้ามไปมาระหว่างสองประเทศ ทุกวันขึ้น 15 ค่ำ เดือนยี่ หรือประมาณเดือนธันวาคม (นับตามแบบล้านนาเมืองเชียงของ) ทางวัดจะจัดให้มีงานสรงน้ำพระธาตุ




บ้านหาดบ้ายหาด-ทรายทองเป็นที่อยู่ของหมู่บ้านชาวไทลื้อ ซึ่งที่นี่นอกจากจะได้สัมผัสวิถีชีวิตของประชาชนท้องถิ่นแล้ว ยังสามารถเลือกซื้อผ้าทอที่ขึ้นชื่อของประเทศเรียกว่าผ้าทอไทลื้อ ซึ่งมีความสวยงามและดำรงเอกลักษณ์เป็นของตนเอง นอกจากจะได้เลือกซื้อผ้าสวยๆ แล้วยังสามารถสัมผัสวิถีชีวิตของผู้คนริมน้ำทั้งสองฝั่งโดยการนั่งเรือชม ซึ่งตลอดเส้นทางการเดินเรือนั้นจะเห็นความงามทางธรรมชาติ ทั้งเกาะแก่งน้อยใหญ่ตั้งอยู่เรียงราย เกาะแก่งต่างๆ เหล่านี้เป็นที่อยู่อาศัยของปลานานาชนิดและยังเป็นแหล่งอาหารของชาวบ้านทั้งสองฝั่งอีกด้วย


เมืองเชียงของนอกจากจะมีแม่น้ำโขงกว้างใหญ่เป็นฉากที่สร้างความประทับใจแด่ผู้มาเยือนแล้ว พระเอกอีกสิ่งหนึ่งที่จะไม่กล่าวถึงไม่ได้นั้นก็คือ “ปลาบึก” ทุกปีช่วงเดือน เมษายน – พฤษภาคม จะมีเทศกาลการจัดปลาบึกที่บ้านห้วยไคร้ ตั้งอยู่ที่หม่ 12 ตำบลเวียง อำเภอเชียงของ แต่เดิมปลาบึกนี้เป็นปลาที่ชาวบ้านจับขึ้นมาเป็นอาหารทั่วไป ทว่าเมื่อมีกระแสการท่องเที่ยวเข้ามา ปลาบึกจึงถูกจับนำมาขายแด่นักท่องเที่ยวและร้านอาหารมากมาย ทำให้ปลาบึกเริ่มจะสูญพันธุ์ลงไป ต่อมาทางชมรมปลาบึกจึงได้จัดให้มีการจับปลาบึกเฉพาะในช่วงเวลาที่ได้กล่าวไปแล้ว โดยก่อนจะจับปลาบึกนั้นจะมีพิธีเซ่นไหว้ผีหลวงหรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่า เทพเจ้าปลาบึก ซึ่งเป็นพิธีแต่เก่าก่อน ต่อมาจึงเป็นงานบวงสรวงที่ใหญ่โตโดยขึ้นทุกปี


แต่เป็นที่น่าเสียดายว่าเมื่อไม่กี่ปีมานี้ปลาบึกที่เคยจับได้นั้นกลับไม่เคยโผล่ให้เห็น หรือมีให้เห็นก็น้อยมาก จากสัตว์ที่ถูกล่าเพื่อนำมาเป็นอาหารปัจจุบันกลายเป็นสัตว์ที่ชาวเชียงของอนุรักษ์และหวงแหนอย่างยิ่ง.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น