วันเสาร์ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2560

นั่งรถไฟ ไปนั่งช้าง รำลึกประวัติศาสตร์ของชาติไทย 2


 


ก่อนที่จะไปนั่งช้างเรามาเรียนรู้เรื่องช้างและความสำคัญของชาติอันเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ชาติไทยซักหน่อย 


ช้างนับว่าเป็นสัตว์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ช้างแบ่งออกเป็น 2 ตระกูลใหญ่ๆ คือ “ช้างแอฟริกา” และ “ช้างเอเชีย” ช้างที่พบเห็นในประเทศไทยนั้นเป็นช้างในตระกูลช้างเอเชีย มีลักษณะเด่นโดนรวมคือ สวยงาม ฉลาด ผิวหนังมีสีเท่าปนน้ำตาลเหลืองอ่อน มีรอยย่นทั่วไปแต่ไม่ลึกเหมือนช้างแอฟริกา อีกทั้งขาก็จะไม่เรียวมากนัก บริเวณเท้าข้างหน้ามีเล็บเล็กๆ อยู่ 5 เล็บ ส่วนเท้าหลังนั้นมี 4 เล็บ หางมีหลายพู่ ขนสั้น ช้างจะกินอาหารวันละประมาณ 250 กิโลกรัม ช้างไทยนั้นจะเดินช้า แม้นจะดุแต่ก็มีนิสัยขี้อายและสามารถได้ยินเสียงได้เร็วและไกลแม้เสียงนั้นจะอยู่ห่างไกลหลายกิโลเมตร โดยเฉลี่ยแล้วช้างจะมีอายุ 60 ปีสามารถให้กำเนิดลูกได้เมื่ออายุ 16-50 ปี โดยที่ตลอดชีวิตนั้นแม่ช้างสามารถมีลูกได้ 3-4 ตัวเท่านั้น การตั้งท้องของช้างก็อยู่ประมาณ 21-22 เดือน ในเวลาที่ช้างตกลูกนั้นแม่ช้างมักจะหาช้างพังไว้เป็นเพื่อนซึ่งจะเรียกว่า “แม่รับ” แม่รับจะทำหน้าที่ช่วยเลี้ยงลูกช้าง อีกทั้งแม่รับนี้จะรักและห่วงลูกช้างมากกว่าแม่จริงเสียอีก การตกลูกของช้างนั้นจะใช้เวลาไม่เกิน 2-3 ชั่วโมง โดยก่อนตกลูกช้างนั้นแม่ช้างจะบริเวณที่มีหญ้าอ่อนหรือพื้นนุ่มไว้รองรับลูกช้างที่จะเกิดมา


ช้างไทยหรือช้างเอเชียนี้จัดได้ว่าเป็นช้างที่ฉลาดที่สุด ฉะนั้นช้างจึงถูกนำมาฝึกเพื่อใช้งานร่วมกับมนุษย์อยู่เสมอ ไม่เพียงถูกนำมาฝึกงานเท่านั้น ช้างยังถูกนำมาฝึกให้ช่วยรบอีกด้วย และเหตุการณ์หลายเหตุการณ์ที่สำคัญในประวัติศาสตร์ไทยก็เกี่ยวเนื่องมาจากช้างมากมาย เช่นเหตุการณ์ที่สมเด็จพระศรีสุริโยทัยขับช้างเข้าขวางข้าศึก จนเป็นเหตุให้พระเจ้าแปรได้ทีฟันสมเด็จพระศรีสุริโยทัยสิ้นพระชนม์ซบลงบนคอช้าง หรือเมื่อคราวที่พระนเรศวรกระทำยุทธหัตถีชนะพระมหาอุปราชา เมื่อช้างมีความสำคัญกับประเทศถึงเพียงนี้ ก็ไม่แปลกที่ครั้งหนึ่งในอดีตเราจะมีธงชาติที่มีรูปช้างปรากฏอยู่


 


อดีตสมัยสมเด็จพระพุทธเลิศล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 พระองค์ทรงได้ช้างเผือกมา 3 เชือก ซึ่งตามประเพณีไทยถือว่าเป็นเกียรติยศอย่างยิ่ง จึงมีพระราชโองการให้มีรูปช้างเผือกไว้กลางวงจักรในเธอเรือหลวง ต่อมาสมัยพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 ทรงมีพระดำริว่า ธงสีแดงซึ่งเรือสินค้าของไทยใช้อยู่นั้นซ้ำกับประเทศอื่น ควรจะใช้ธงอย่างเรือหลวงเป็นธงชาติ แต่โปรดให้เอารูปจักรสีแดงออก เพราะเป็นเครื่องหมายของพระเจ้าแผ่นดิน คงไว้แต่รูปช้างเผือกอยู่ตรงกลางธงแดงเท่านั้น ต่อมาในสมัยสมเด็จพระพุทธจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติว่าด้วยแบบธงสยาม ลงวันที่ 25 มีนาคม ร.ศ. 110 (พ.ศ. 2434) กำหนดธงต่างๆ ถึง 13 ชนิด นับเป็นพระราชบัญญัติธงฉบับแรกของไทย ในพระราชบัญญัตินี้กำหนดไว้ให้เรียกว่า “ธงสยาม” มีลักษณะเป็นรูปธงช้างเผือกบนพื้นสีแดง ใช้สำหรับเรือกำปั้นและเรือพ่อค้าทั่วไป ส่วนเรือหลวงใช้ธงช้างเผือกทรงเครื่องยืนแท่น ที่มุมธงด้านบนมีจักรสำหรับชักท้ายเรือพระที่นั่ง


ดังจะเห็นได้ว่า ช้างนั้นเป็นสัตว์ที่มีคุณค่าและอยู่คู่ประเทศไทยมาช้านาน ฉะนั้นจึงเป็นที่น่ายินดีว่า “คณะอนุกรรมการประสานงานการอนุรักษ์ช้างไทย” ซึ่งได้เล็งเห็นว่าหากมีการสถาปนาวันช้างไทยขึ้น ก็น่าจะช่วยให้ประชาชนสนใจช้าง รักช้าง หวงแหนช้าง และให้ความช่วยเหลือมากขึ้น คณะอนุกรรมการฯ จึงมีมติให้วันที่ 13 มีนาคมของทุกปีเป็น “วันช้างไทย” โดยได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2541


เมื่อเรียนรู้เรื่องช้างและความสำคัญของชาติอันเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ชาติไทย แล้วถึงตอนนี้มีใครอยากลองนั่งช้างไหม? ซึ่งราคาการนั่งช้างของที่ปางแห่งนี้นั้นก็อยู่ที่ 100 บาทต่อคนต่อ 10 นาที ช้างจะพาเราเดินออกจากปางช้างไปถึงสี่แยกตะแลงแกง เลี้ยวซ้ายไปทางคุ้มขุนแผน แล้วมุ่งไปยังวิหารพระมงคลบพิตร แต่จะไปไม่แล้วจึงวกกลับปาง ซึ่งการนั่งช้างนั้นสนุกตื่นเต้นไปอีกแบบ ความรู้สึกคล้ายกับว่าเรานั่งรถสูงๆ ที่ไม่มีหลังคาแถมยางแตกข้างหนึ่ง คือมันจะโยกไปโยกมาตลอด
แต่ถ้าใครไม่กล้านั่งช้าง ทางสถานที่ก็มีที่ให้นั่งรอพร้อมทั้งมีซุ้มจำหน่ายอาหารช้างเช่นสมุนไพร ไอศกรีม หรือแม้นกระทั่งป้อนนมให้ช้างด้วย อาหารนั้นก็คือกล้วยราคาอยู่ที่ 20 บาทต่อตะกร้า ส่วนนมช้างนั้นอยู่ที่ 50-100 บาทต่อเหยือก โดยการที่จะให้นมช้างนั้นก็คล้ายๆ ให้น้ำเกลือคน คือจะมีกระบอก (ที่เห็นใช้ขวดน้ำอัดลมอันใหญ่) แล้วต่อสายยางขนาดเล็กใส่ปากช้าง เราจะเทนมใส่กระบอกอย่างช้าๆ แล้วช้างก็จะดูดนมจากสายยางนั้นเอง


และที่ซุ้มนี้ทำให้ผมรู้สึกอดสะท้อนใจอะไรบ้างอย่างไม่ได้นั้นก็คือถ้อยคำที่เขียนไว้ว่า “วันนี้คล้ายขอทาน อดีตกาลเคยกู้ชาติ” และเมื่อนั่งไตร่ตรองดูก็จริงอย่างที่เขียนไว้ ผมอยู่ในเมืองหลวง เกือบทุกครั้งที่ออกไปนอกบ้านในยามค่ำน้อยครั้งที่ผมจะไม่เห็นภาพชายฉกรรจ์เที่ยวเร่ขายอาหารช้าง ถุงละ 20 บาท เมื่อมองภาพเหล่านั้นนานเข้า โดยเฉพาะหลังจากที่เห็นป้ายนั้นที่หน้าซุ่มทำให้ผมอดที่จะสะท้อนใจอยู่ลึกๆ ไม่ได้


จากปางช้างเดินไปทางคุ้มขุนแผนแวะดูคุ้มที่สวยงาม ซึ่งเป็นบ้านทรงไทยสมัยก่อนซักครู่ แล้วค่อยเดินต่อไม่นานก็จะมาถึง “วิหารมงคลบพิตร”

 


วิหารมงคลบพิตรนี้ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของวัดพระศรีสรรเพชญ์ ภายในมีพระพุทธรูปปางมารวิชัย มีหน้าตักกว้าง 9.55 เมตร และสูง 12.45 เมตร ซึ่งก็นับว่าเป็นพระพุทธรูปขนาดใหญ่องค์หนึ่งของไทย ทว่าไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่าสร้างในสมัยใด แต่สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้นราวปี พ.ศ. 1991-2145


เมื่อเข้าไปกราบไหว้พระพุทธรูปในวิหารมงคลบพิตรเรียบร้อยแล้ว ก็ออกมาเดินเที่ยวชมบริเวณรอบๆ ดู ซึ่งด้านหลังของวิหารนั้นจะมีบรรดาพ่อค้าแม่ค้าเปิดร้านขายของฝากมากมาย ซึ่งของฝากที่ขึ้นชื่อก็มีตั้งแต่ผลไม้แช่อิ่ม โรตีสายไหม แคบหมูไร้มัน โดยเฉพาะหนังปลาทอดกรอบนั้นมีขายมากมาย อีกทั้งสนนราคาไม่แพงเกินไปนัก (สามห่อ 50 บาท รับรองทานได้เป็นวันๆ) เหมาะที่จะซื้อเป็นของฝากหรือเอาไว้ทานเล่นบนรถไฟเที่ยวกลับได้เลย




ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยานั้น แม้นโดยรวมแล้วจะเป็นเพียงจังหวัดที่ไม่ใหญ่เกินไปนัก ทว่าสถานที่ท่องเที่ยวนั้นมีมากมายอาทิเช่นวัดพระศรีสรรเพชญ์ พระราชวังโบราณ บึงพระราม พระราชายุสาวรีย์สมเด็จพระศรีสุริโยทัย ฯลฯ ซึ่งก็แน่นอนใครก็ไม่สามารถเที่ยวได้หมดภายในวันเดียว แต่ก็สามารถไปเที่ยวแบบเช้าไปเย็นกลับจากกรุงเทพฯ ได้ไม่ยากนัก


ซึ่งถ้าหากท่านมีแผนที่จะเดินทางไปเที่ยวต่างจังหวัด โดนมีงบประมาณและเวลาที่จำกัดแล้วหละก็ “จังหวัดพระนครศรีอยุธยา” นั้นก็น่าจะเป็นจังหวัดที่เป็นตัวเลือกอันดับต้นๆ ที่ท่านน่าจะลองเลือกดู
เชื่อเถอะว่าหลังจากที่คุณกลับเมืองหลวง คุณก็อยากจะกลับไปเที่ยวอีกในไม่ช้า.


แสงศรัทธา ณ ปลายฟ้า เรื่องและภาพ


อ่านนิยายของเพลงมีนา


“บ้านนักเขียน” ยินดีเป็นส่วนหนึ่งของนักเขียนและนักอ่านทุกท่าน หากถ้าหากนักเขียน นักอ่าน สำนักพิมพ์มีความประสงค์ที่จะโฆษณาประชาสัมพันธ์งานเขียน ข่าวคราวเกี่ยวกับหนังสือของตนเองหรือของผู้อื่น กรุณาส่งรีวิว ไฟล์ภาพ และรายละเอียดหนังสือหรือข่าวที่จะให้ประชาสัมพันธ์นั้นๆ มาที่ “บ้านนักเขียน” หรือที่ admin@bannakkhian.com และอย่าลืมแวะเข้าไปเยี่ยมกันที่ “บ้านนักเขียน” กันบ้างนะครับ ใครต้องการเขียนเรื่องสั้น นิยาย บทกวี ฯลฯ ทาง “บ้านนักเขียน” ได้เปิดพื้นที่ให้นักเขียน นักอยากเขียนทุกท่านได้โชว์ผลงานผ่าน “บอร์ดนักเขียน” ไม่แน่หากผลงานของท่านเข้าตาบรรณาธิการสำนักพิมพ์ วงวรรณกรรมก็อาจจะมีนักเขียนดีผลงานเด่นเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งคนก็ได้ ขอบคุณครับ.

วันพฤหัสบดีที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2560

นั่งรถไฟ ไปนั่งช้าง รำลึกประวัติศาสตร์ของชาติไทย 1


 


ในช่วงวันหยุดเสาร์อาทิตย์หรือแม้แต่วันหยุดที่ติดต่อกันในเวลาอันสั้นนั้น ใครหลายคนก็นึกอยากจะไปเปิดหูเปิดตาชมบรรยากาศที่ไม่ใช่เมืองหลวงที่เรามักคุ้นอยู่ทุกวันบ้าง ทว่าด้วยราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นทุกวันและก็ไม่มีทีท่าว่าจะลดลงเลยนั้น ก็อาจจะเป็นอุปสรรค์หนึ่งที่ทำให้เราไม่ค่อยอยากจะออกจากบ้านไปไหน สู้จอดรถไว้กับบ้านแล้วนั่งนอนเล่นดีกว่า นี่คือความคิดของใครหลายคน – ใช่ไหม?


แต่ถ้าเราขจัดปัญหาเรื่องการนำรถไปด้วยหละ การเดินทางใกล้ๆ พร้อมทั้งชมบรรยากาศสดชื่นริมทางไปด้วยก็ใช่จะเป็นเรื่องยากเกินไปนัก  แล้วสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจนั้นอยู่ไหนหละ? และจะไปกันอย่างไร? คำตอบให้กับสองคำถามนี้ไม่ยากเลย นั่นก็คือจังหวัด “พระนครศรีอยุธยา” หรือ “กรุงเก่า” ที่เรารู้จักกันดีนั่นเอง


การเดินทางไปอยุธยาโดยสามารถซึมซับบรรยากาศอันสดชื่นตลอดสองข้างทางนั้น การเดินทางที่สะดวก ปลอดภัย และประหยัดที่สุดนั้น เห็นจะเป็นอะไรไปไม่ได้นอกจากการเดินทางโดย “รถไฟ” ซึ่งราคาตั๋วจากสถานีกรุงเทพฯ (หัวลำโพง) ถึงปลายทางอยุธยาอยู่ที่ 20 บาทถ้วนหรือ 20 บาทตลอดสายไม่ว่าท่านจะลง ณ สถานีใดก่อนถึงสถานีอยุธยาก็ตาม แต่ถ้าท่านจะเดินทางโดยวิธีอื่นก็ได้เช่น รถทัวร์ทั้งปรับอากาศและรถธรรมดาก็ไปขึ้นที่สถานีขนส่งสายเหนือ (หมอชิต) รถตู้ก็มีไว้บริการซึ่งรถตู้จะจอดอยู่ที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ หรือถ้าท่านอยู่ชานเมืองบริเวณรังสิตก็สามารถไปขึ้นรถตู้ได้ที่ฟิวเจอร์ปาร์ค รังสิตได้เลย นอกจากนี้ยังมีเรือไว้บริการท่านที่จะเดินทางโดยเรือด้วยคือ เรือท่องเที่ยวบริการระหว่างเส้นทางกรุงเทพฯ ถึงจังหวัดพระนครศรีอยุธยา คือเรือด่วนเจ้าพระยา เรือโอเรียลเต็ลควีน เรือแซงกรีล่า เรือริเวอร์ชันครุยส์ (ซึ่งเรือของโรงแรมต่างๆ อาจจะต้องติดต่อกับโรงแรมเอง)
ทว่า ณ ตรงนี้ผมอยากจะแนะนำท่านในรูปแบบสะดวก ปลอดภัยและประหยัดที่สุด ผมจึงเลือกการเดินทางโดย “รถไฟ”

 


เริ่มจากต้นทางสถานีรถไฟกรุงเทพฯ เที่ยวเช้าเวลาราว 6.50 น. เที่ยวต่อไปก็อยู่ที่ประมาณ 8.20 น. ขอแนะนำว่าให้ไปเช้าๆ หน่อยสำหรับท่านที่จะไปแบบเช้าไปเย็นกลับ แต่สำหรับท่านที่จะไปค้างซักคืนนั้นไปสายหน่อยก็ได้ รถไฟออกจากสถานีกรุงเทพฯ ใช้เวลาไม่ถึงหนึ่งชั่วโมงก็จะพาเราออกจากสถานีรังสิต ซึ่งเมื่อรถไฟแล่นออกจากสถานีรังสิตท่านก็จะได้เห็นบรรยากาศของชนบทที่แวดล้อมไปด้วยทุ้งข้าวสลับกับบ้านคนเป็นระยะๆ และด้วยระยะทางจากกรุงเทพฯ ถึง จังหวัดพระนครศรีอยุธยานั้นมีระยะทาง (ทางหลวง) แค่ 76 กิโลเมตรเท่านั้น เพียงหนึ่งชั่วโมงกว่าๆ รถไฟก็จะพาท่านมาถึงสถานีที่หมายนั้นก็คือ “สถานีรถไฟอายุธยา”
อันดับแรกเลยที่ผมอยากจะแนะนำเมื่อมาถึงคือ “จดตะรางเวลาเดินทางกลับ” ไว้ก่อน โดยเวลาช่วงเย็นๆ ที่เหมาะน่าจะประมาณเที่ยวเวลา 15.29 น. และ 16.05 น. เมื่อจดเวลากลับแน่นอนแล้วซื้อน้ำเตรียมไว้ล่วงหน้าได้เลย เพราะการมาเที่ยวอยุธยานั้น เวลาส่วนใหญ่เราจะหมดไปกับการเดินชมโบราณสถานต่างๆ เมื่อซื้อน้ำเสร็จแล้วก็ตรงดิ่งไปยังหน้าสถานีจะเห็นรถสามล้อสีแจ๊ดหน้าตาแปลกๆ คล้าย “นกแก้ว” จอดเรียงรายเต็มไปหมด เลือกคันไหนก็ได้เพราะรถทุกคันจะราคาเดียวกัน จะไปไหนก่อนก็บอกกับคนขับไปแล้วคนขับก็จะยื่นเมนูราคามาให้เราเลือก หรือจะเลือกเหมาให้พาเราเที่ยวก็ได้ โดยราคาเหมาแบบตายตัวจะอยู่ที่ 200 บาทต่อหนึ่งชั่วโมงต่อคัน (คันหนึ่งน่าจะนั่งได้ประมาณ 5-6 คน) ซึ่งถ้าไปกันหลายคนก็เฉลี่ยกันไม่แพงเท่าไร


แต่ผมอยากจะแนะนำสำหรับท่านที่ยังไม่ข้อมูลของสถานที่ท่องเที่ยวในอยุธยาเลยก็ให้ไปที่ “สำนักงาน ททท. ภาคกลางเขต 6” ซึ่งที่แนะนำให้ไปที่นั้นก็เพื่อไปขอแผนที่สถานที่ท่องเที่ยวและรายละเอียดต่างๆ ถ้านั่งรถจากสถานีรถไฟไปสำนักงาน ททท. ก็อยู่ในราคา 60-70 บาท ซึ่งถ้านั่งรถไปจริงๆ แล้วก็ถือว่าไกลพอควร เทียบราคากับการนั่งแท็กซี่ในเมืองหลวงก็พอๆ กัน


เมื่อไปถึง ททท. แล้วสิ่งที่จะเห็นเป็นอันดับแรกก็คือป้าย “มรดกโลก” ตั้งเด่นเป็นสง่าอยู่ที่หน้าตึก มรดกโลกนี้ทาง “องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติหรือยูเนสโก (UNESCO)” ได้มีมติรับนครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ซึ่งมีอาณาเขตครอบคลุมอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา และเป็นพื้นที่ที่ได้รับการจัดตั้งเป็นอุทยานประวัติศาสตร์มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2519 ไว้ในบัญชีมรดกโลก เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2534 ณ กรุงคาร์เธจ ประเทศตูนีเซีย พร้อมกับอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย-อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย-อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร อีกด้วย เมื่อมองจากป้ายมรดกโลกไปด้านหลังจะเห็น “ศาลากลางจังหวัดพระนครศรีอยุธยา” ซึ่งเป็นศาลากลางหลังเก่า แต่ที่เด่นสะดุดตาก็คือ รูปปั้นของพระมหากษัตริย์ในราชวงศ์ต่างๆ เช่นสมเด็จพระนเรศวร สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ฯลฯ ซึ่งพระนครศรีอยุธยานั้นในตามที่ทราบกันดีว่า ในอดีตคือราชธานีเก่าของไทยโดยรวมระยะเวลาทั้งสิ้น 417 ปีนับว่าเป็นราชธานีที่มีอายุมากที่สุดของไทย โดยมีราชวงศ์ที่ปรกครองรวมทั้งสิ้น 5 ราชวงศ์ประกอบด้วย ราชวงศ์อู่ทอง ราชวงศ์สุพรรณภูมิ ราชวงศ์สุโขทัย ราชวงศ์ปราสาททอง และราชวงศ์บ้านพลูหลวง มีกษัตริย์ปรกครองทั้งสิ้น 33 พระองค์ โดยมีปฐมกษัตริย์คือ สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง)

 


เมื่อถ่ายรูปและชื่นชมความงามเสร็จแล้วก็เดินเข้าในในตึกทางด้านขวามือจะเห็นสำนักงานท่องเที่ยวอยู่ เดินเข้าไปเลยครับแล้วแจ้งว่าจะขอรับแผนที่ท่องเที่ยว ทางพนักงานก็จะยืนสมุดมาให้เราเซ็น (คล้ายสมุดเซ็นเยี่ยม) นอกจากเราจะได้รับแผ่นที่ท่องเที่ยวในจังหวัดอยุธยาแล้ว ทางสำนักงานท่องเที่ยวก็จะมีแผ่นที่และแหล่งท่องเที่ยวมากมายโดยเฉพาะภาคกลางแจกให้อีกด้วย และภายในสำนักงานแห่งนี้นอกจากอาคารศาลากลางจังหวัดแห่งนี้จะมีสำนักงานท่องเที่ยวแล้วยังมี “หอนิทรรศการประวัติศาสตร์” ให้เราได้เดินชมอีกใครอยากชมก็ตามสบายเลย


เดินชมเสร็จแล้วก็ออกมาจากศาลากลางเดินถึงถนนใหญ่ให้เลี้ยวซ้ายสิ่งที่เห็นเป็นอันดับแรกเลยคือ “สถานีตำรวจท่องเที่ยว” ในส่วนของสถานีนี้ที่ผมเห็นจะมีจักรยานให้เช่าด้วย ถ้าใครคิดว่าเดินไม่ไหวก็ลองเข้าไปไถ่ถามราคาได้ คิดว่าไม่แพงเกินไปนัก จากสถานีตำรวจท่องเที่ยวเดินตรงไปเรื่อยๆ ไม่ไกลนักทางซ้ายอีกเช่นกันจะเป็นที่ตั้งของ “ศาลหลักเมือง” แล้วตรงจากศาลหลักเมืองไปจะมีสี่แยก ซึ่งสี่แยกตรงนี้เรียกว่า “สี่แยกตะแลงแกง” จากสี่แยกเราก็จะเห็นป้ายของ “วังช้างอยุธยา แล เพนียด” อยู่ตรงข้าม




เดินชมเสร็จแล้วก็ออกมาจากศาลากลางเดินถึงถนนใหญ่ให้เลี้ยวซ้ายสิ่งที่เห็นเป็นอันดับแรกเลยคือ “สถานีตำรวจท่องเที่ยว” ในส่วนของสถานีนี้ที่ผมเห็นจะมีจักรยานให้เช่าด้วย ถ้าใครคิดว่าเดินไม่ไหวก็ลองเข้าไปไถ่ถามราคาได้ คิดว่าไม่แพงเกินไปนัก จากสถานีตำรวจท่องเที่ยวเดินตรงไปเรื่อยๆ ไม่ไกลนักทางซ้ายอีกเช่นกันจะเป็นที่ตั้งของ “ศาลหลักเมือง” แล้วตรงจากศาลหลักเมืองไปจะมีสี่แยก ซึ่งสี่แยกตรงนี้เรียกว่า “สี่แยกตะแลงแกง” จากสี่แยกเราก็จะเห็นป้ายของ “วังช้างอยุธยา แล เพนียด” อยู่ตรงข้าม


ปัจจุบันปางช้างในประเทศไทยนั้นมีมากมายไม่ว่าจะเป็นที่ศูนย์ฝึกช้างเชียงดาวจังหวัดเชียงใหม่ ศูนย์อนุรักษ์ช้างไทยจังหวัดลำปาง หมู่บ้ายช้างบ้านตากลางจังหวัดสุรินทร์ แต่ที่ใกล้กรุงเทพฯ มากที่สุดก็เห็นจะเป็นที่ “วังช้างอยุธยา แลเพนียด” จังหวัดอยุธยา ซึ่งปางช้างที่นี่นั้นก็มีช้างอยู่ประมาณ 100 เชือก นักท่องเที่ยวสามารถให้อาหารช้างและสามารถชมความเป็นอยู่ของช้างอย่างใกล้ชิดได้ อีกทั้งยังเปิดให้นักท่องเที่ยวพักแรมในลักษณะ “โฮมสเตย์” ได้อีกด้วย.


แสงศรัทธา ณ ปลายฟ้า เรื่องและภาพ


 

"บ้านนักเขียน" ยินดีเป็นส่วนหนึ่งของนักเขียนและนักอ่านทุกท่าน หากถ้าหากนักเขียน นักอ่าน สำนักพิมพ์มีความประสงค์ที่จะโฆษณาประชาสัมพันธ์งานเขียน ข่าวคราวเกี่ยวกับหนังสือของตนเองหรือของผู้อื่น กรุณาส่งรีวิว ไฟล์ภาพ และรายละเอียดหนังสือหรือข่าวที่จะให้ประชาสัมพันธ์นั้นๆ มาที่ "บ้านนักเขียน" หรือที่ admin@bannakkhian.com และอย่าลืมแวะเข้าไปเยี่ยมกันที่ "บ้านนักเขียน" กันบ้างนะครับ ใครต้องการเขียนเรื่องสั้น นิยาย บทกวี ฯลฯ ทาง "บ้านนักเขียน" ได้เปิดพื้นที่ให้นักเขียน นักอยากเขียนทุกท่านได้โชว์ผลงานผ่าน "บอร์ดนักเขียน" ไม่แน่หากผลงานของท่านเข้าตาบรรณาธิการสำนักพิมพ์ วงวรรณกรรมก็อาจจะมีนักเขียนดีผลงานเด่นเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งคนก็ได้ ขอบคุณครับ.

วันจันทร์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2560

เลียบแม่น้ำโขง สู่เวียงแก่น ขึ้นภูดูทะเลหมอก 2.


แสงศรัทธา ณ ปลายฟ้า เรื่องและภาพ
*ยกเว้นภาพช่องเขาขาดถ่ายโดย นพรัตน์ ละมุล
ตีพิมพ์ครั้งแรก กรุงเทพธุรกิจ ฉบับเสาร์สวัสดี




ณ บริเวณนี้ในอดีตเคยเป็นที่ตั้งของกองพล 93 ซึ่งเป็นกองพลของนายพลหลี่หมี นายพลจากประเทศจีนที่เข้ามาช่วยไทยร่วมรบกับผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ (ผกค.) บนยอดดอยจะมีศาลาที่สร้างอุทิศให้นายพลหลี่หมีตั้งอยู่




ณ บริเวณนี้ในอดีตเคยเป็นที่ตั้งของกองพล 93 ซึ่งเป็นกองพลของนายพลหลี่หมี นายพลจากประเทศจีนที่เข้ามาช่วยไทยร่วมรบกับผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ (ผกค.) บนยอดดอยจะมีศาลาที่สร้างอุทิศให้นายพลหลี่หมีตั้งอยู่


ยอดสุดของดอยผาตั้งนี้ยังมีจุดชมวิวที่น่าสนใจ คือ “ผาบ่อง” (บ่องแปลว่าช่องหรือประตู) ถือว่าเป็น “ประตูสยามสู่ลาว” มีลักษณะเป็นช่องหินขนาดใหญ่คนเดินลอดได้อยู่ในแนวหน้าผา สามารถมองเห็นทิวทัศน์ และแม่น้ำโขงที่ไหลอยู่ในประเทศลาวได้ แต่ตอนที่ผมไปนั้นทางการได้เอาไม้ไผ่ตีปิดเอาไว้ ไม่ทราบเช่นกันว่าทำไปเพื่ออะไร ไม่ไกลจากผ่าบ่องด้านขวามือมี “ช่องเขาขาด” เป็นช่องเขาที่หินขาดจากกัน สามารถมองเห็นแม่น้ำโขงพาดผ่านตรงช่องเขาขาดพอดี โดยเฉพาะถ้ามาช่วงเดือนธันวาคมถึงมกราคม ดอกนางพญาเสือโคร่งและดอกเสี้ยวจะบานสะพรั่งงดงาม ทั้งทะเลหมอกที่นี้ก็สวยงามไม่แพ้ภูชี้ฟ้าเลย


ส่วนที่พักด้านบนนั้นจะมีลานให้กางเต็นท์ได้ แต่ถ้ามาในช่วงเทศกาลท่องเที่ยวราวเดือน ธันวาคมก็จะมีชาวบ้านขึ้นมาขายอาหาร (ถ้าไม่ได้มาช่วงเทศกาลก็อาจจะหายากหน่อย) อาหารที่ไม่น่าพลาดเลยก็คือขาหมู และหม่านโถว เรียกได้ว่า ใครมาที่ผาตั้งแล้วไม่ได้กินอาหารสองอย่างนี้ ก็เหมือนกับว่าไม่ได้มาดอยผาตั้งอย่างแท้จริงเลยทีเดียว ทว่าหากใครมาแล้วไม่ได้เตรียมเต็นท์มาก็มีชาวบ้านนำเต็นท์มาให้เช่าด้วย แต่ใครที่อยากจะนอนพักในสถานที่ที่มีความสะดวกสบายหน่อย ก็จะมีที่พักไว้บริการในราคาคืนละ 500 – 700 ไว้บริการที่ด้านล่าง ห่างจากจุดชมวิวและจุดกางเต็นท์ไม่เกิน 2 กิโลเมตร


ผมได้ความรู้จากเพื่อนผู้ร่วมทางว่า ดอยผาตั้งนั้นแท้จริงแล้วมิได้อยู่ตรงผาบ่องหรือช่องเขาขาด หากอยู่ตรงด้านนอก คือเมื่อเราเดินทางเข้ามาจากเส้น ปางหัด – ดอยผาตั้งราว 5 กิโลมองทางขวามือเราจะเห็นดอยลูกหนึ่งมีลักษณะเป็นผาตั้งอยู่นั้นหละคือดอยผาตั้งที่แท้จริง ส่วนที่เราเรียกว่าดอยผาตั้งรวมๆ กันนั้นก็มาจาก วันนัดพบ 10 ธันวาคม 2513 กำลังจากกองทัพ 3 และ 5  ได้เดินทางโดยรถยนต์ ทหารไทยเข้าสู่ดอยยาว ดอยผาหม่น ดอยหลวง เพื่อจัดตั้งหมู่บ้านแม่แอบ และ "บ้านผาตั้ง" ซึ่งอยู่ในเขตอิทธิพลของผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ (ผกค.)  และต้องทำการรบราฆ่าฟันกันจนบ้านเมืองสันติสุข กลายมาเป็นผาตั้งจึงเริ่ม "ตั้ง" กันตั้งแต่ปี 2513 เป็นต้นมา


นอนพักเล่นที่ดอยผาตั้งซักคืนสองคืน ดูทะเลหมอกในยามเช้าและทะเลดาวในยามราตรีแล้วค่อยออกเดินทางกันต่อ




จากดอยผาตั้งวิ่งรถกลับลงดอยมาทางเก่า ตรงแยกปางหัดมีทางไปอำเภอเทิงไปตามทางเรื่อยๆ จากนั้นเข้าทางหลวงหมายเลข 1155 จนถึงทางแยกขวาขึ้นสู่ภูชี้ฟ้าถ้ามารถโดยสารให้ใช้บริการรถโดยสารประจำทางสายเชียงราย-เทิง ลงรถที่อำเภอเทิง (ถ้าจะไปดอยผาตั้งก็ให้ลงที่แยกปางหัด) จากนั้นเช่ารถขึ้นไปภูชี้ฟ้า แต่ผมไม่แนะนำคือถ้าไปกันมากกว่าสิบคนไม่เป็นไร แต่ถ้ามาน้อยคนค่าเหมารถก็เท่ากับเหมาทั้งคัน (ต่อคันสามารถโดยสารได้ไม่เกิน 12 คน) ราคาจะอยู่ที่ 1,200 – 1,500 บาทต่อคัน ที่ผมอยากจะแนะนำก็คือ ถ้ามาในช่วงเทศกาลให้จองที่พักล่วงหน้า แล้วสอบถามทางที่พักนั้นว่ามีบริการรับส่งขึ้นลงภูหรือไม่ ส่วนมากจะมีแล้วราคาก็ประหยัดกว่าที่จะต้องเหมารถจากด้านล่างขึ้นภูมาก แทบจะเรียกว่าเท่าตัวเลยทีเดียว


ภูชี้ฟ้า หรือ “ดอยชี้ฟ้า” (ตามคำเรียกของคนเหนือ) นั้นเป็นส่วนหนึ่งของดอยผาหม่น อยู่ห่างจากดอยผาตั้ง 25 กิโลเมตร มีลักษณะเป็นยอดเขาแหลมชี้ขึ้นไปบนฟ้า สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,628 กิโลเมตร บนยอดภูมีทุ่งหญ้ากว่าประมาณ 1 ตารางกิโลเมตร โดยมีหน้าผาเป็นแนวยาวยื่นเข้าไปในฝั่งประเทศลาว สามารถมองเห็นหมู่บ้านที่อยู่ประเทศลาวที่ชื่อ "เชียงตอน" ได้




ส่วนการเดินทางขึ้นไปดูทะเลหมอกที่ภูชี้ฟ้านั้นควรจะเริ่มออกเดินทางจากที่พัก (ถ้าพักบนภูชี้ฟ้า) ก่อนพระอาทิตย์ขึ้นคือราวๆ 6 โมงเพราะทางที่จะขึ้นไปบนภูนั้นไม่มีทางรถมีแต่ทางเดินสูงชันยาวร่วม 800 เมตร ทว่าเมื่อไปถึงแล้วทะเลหมอกยามพระอาทิตย์ขึ้นก็ทำให้ความเหนื่อยล้าหายเป็นปลิดทิ้งได้ (ขนาดผมไปช่วงปลายฝนต้นหนาวแท้ๆ ยังหนาวเย็นและมีทะเลหมอกแลดูสวยงามแล้ว คิดดูว่าถ้ามาหน้าหนาวจะหนาวเย็นและสวยงามขนาดไหน)


บนภูชี้ฟ้านั้นยังมีแหล่งท่องเที่ยวอีกมากมาย ประมาณว่าเที่ยววันเดียวเฉพาะบนภูชี้ฟ้านี้ไม่หมดแน่ และถ้าหากมาในช่วงปีใหม่ยังจะได้ชมงานปีใหม่ ที่ชาวม้งจะแต่งตัวด้วยชุดประจำเผ่าม้งครบถ้วนทั้งหญิงและชาย จุดเด่นของงานอยู่ที่การโยนลูกช่วงหรือลูกหินระหว่างหนุ่ม – สาว




ดั่งจะเห็นได้ว่าเวียงแก่นนี้ แม้จะที่มีเนื้อที่ไม่ใหญ่นักประมาณ 526 ตารางกิโลเมตร ทว่ากลับประกอบไปด้วยชนชาติหลากหลายเผ่าพันธุ์ ที่สำคัญยังมีแหล่งท่องเที่ยวมากมายที่สวยงามอย่างที่ผมกล่าวไว้แต่ต้น ถ้าจะให้กล่าวอย่างไม่เกินความจริงก็ได้ว่า เอาเฉพาะเที่ยวไปตามแหล่งท่องเที่ยวในอำเภอเวียงแก่นอย่างเดียว 5 วันก็เที่ยวไม่ครบทุกที่แล้ว


ก่อนจะจบการเดินทางเที่ยวนี้นั้น ผมขอฝากบางอย่างไว้ด้วยว่า การท่องเที่ยวไปตามสถานที่ต่างๆ สิ่งหนึ่งที่เราจะต้องเรียนรู้แน่นอนก็คือประวัติศาสตร์ของสถานที่นั้นๆ แต่ที่ลืมไม่ได้ก็คือการเคารพซึ่งวิถีแห่งชนท้องถิ่นและธรรมชาติด้วย เพราะสิ่งเหล่านี้คือหัวใจหลักของนักท่องเที่ยวทุกคนพึ่งมี.



อ่านนิยายชุดดวงใจมาเฟีย


“บ้านนักเขียน” ยินดีเป็นส่วนหนึ่งของนักเขียนและนักอ่านทุกท่าน หากถ้าหากนักเขียน นักอ่าน สำนักพิมพ์มีความประสงค์ที่จะโฆษณาประชาสัมพันธ์งานเขียน ข่าวคราวเกี่ยวกับหนังสือของตนเองหรือของผู้อื่น กรุณาส่งรีวิว ไฟล์ภาพ และรายละเอียดหนังสือหรือข่าวที่จะให้ประชาสัมพันธ์นั้นๆ มาที่ “บ้านนักเขียน” หรือที่ admin@bannakkhian.com  และอย่าลืมแวะเข้าไปเยี่ยมกันที่ “บ้านนักเขียน” กันบ้างนะครับ ใครต้องการเขียนเรื่องสั้น นิยาย บทกวี ฯลฯ ทาง “บ้านนักเขียน” ได้เปิดพื้นที่ให้นักเขียน นักอยากเขียนทุกท่านได้โชว์ผลงานผ่าน “บอร์ดนักเขียน” ไม่แน่หากผลงานของท่านเข้าตาบรรณาธิการสำนักพิมพ์ วงวรรณกรรมก็อาจจะมีนักเขียนดีผลงานเด่นเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งคนก็ได้ ขอบคุณครับ.