วันพฤหัสบดีที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2560

นั่งรถไฟ ไปนั่งช้าง รำลึกประวัติศาสตร์ของชาติไทย 1


 


ในช่วงวันหยุดเสาร์อาทิตย์หรือแม้แต่วันหยุดที่ติดต่อกันในเวลาอันสั้นนั้น ใครหลายคนก็นึกอยากจะไปเปิดหูเปิดตาชมบรรยากาศที่ไม่ใช่เมืองหลวงที่เรามักคุ้นอยู่ทุกวันบ้าง ทว่าด้วยราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นทุกวันและก็ไม่มีทีท่าว่าจะลดลงเลยนั้น ก็อาจจะเป็นอุปสรรค์หนึ่งที่ทำให้เราไม่ค่อยอยากจะออกจากบ้านไปไหน สู้จอดรถไว้กับบ้านแล้วนั่งนอนเล่นดีกว่า นี่คือความคิดของใครหลายคน – ใช่ไหม?


แต่ถ้าเราขจัดปัญหาเรื่องการนำรถไปด้วยหละ การเดินทางใกล้ๆ พร้อมทั้งชมบรรยากาศสดชื่นริมทางไปด้วยก็ใช่จะเป็นเรื่องยากเกินไปนัก  แล้วสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจนั้นอยู่ไหนหละ? และจะไปกันอย่างไร? คำตอบให้กับสองคำถามนี้ไม่ยากเลย นั่นก็คือจังหวัด “พระนครศรีอยุธยา” หรือ “กรุงเก่า” ที่เรารู้จักกันดีนั่นเอง


การเดินทางไปอยุธยาโดยสามารถซึมซับบรรยากาศอันสดชื่นตลอดสองข้างทางนั้น การเดินทางที่สะดวก ปลอดภัย และประหยัดที่สุดนั้น เห็นจะเป็นอะไรไปไม่ได้นอกจากการเดินทางโดย “รถไฟ” ซึ่งราคาตั๋วจากสถานีกรุงเทพฯ (หัวลำโพง) ถึงปลายทางอยุธยาอยู่ที่ 20 บาทถ้วนหรือ 20 บาทตลอดสายไม่ว่าท่านจะลง ณ สถานีใดก่อนถึงสถานีอยุธยาก็ตาม แต่ถ้าท่านจะเดินทางโดยวิธีอื่นก็ได้เช่น รถทัวร์ทั้งปรับอากาศและรถธรรมดาก็ไปขึ้นที่สถานีขนส่งสายเหนือ (หมอชิต) รถตู้ก็มีไว้บริการซึ่งรถตู้จะจอดอยู่ที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ หรือถ้าท่านอยู่ชานเมืองบริเวณรังสิตก็สามารถไปขึ้นรถตู้ได้ที่ฟิวเจอร์ปาร์ค รังสิตได้เลย นอกจากนี้ยังมีเรือไว้บริการท่านที่จะเดินทางโดยเรือด้วยคือ เรือท่องเที่ยวบริการระหว่างเส้นทางกรุงเทพฯ ถึงจังหวัดพระนครศรีอยุธยา คือเรือด่วนเจ้าพระยา เรือโอเรียลเต็ลควีน เรือแซงกรีล่า เรือริเวอร์ชันครุยส์ (ซึ่งเรือของโรงแรมต่างๆ อาจจะต้องติดต่อกับโรงแรมเอง)
ทว่า ณ ตรงนี้ผมอยากจะแนะนำท่านในรูปแบบสะดวก ปลอดภัยและประหยัดที่สุด ผมจึงเลือกการเดินทางโดย “รถไฟ”

 


เริ่มจากต้นทางสถานีรถไฟกรุงเทพฯ เที่ยวเช้าเวลาราว 6.50 น. เที่ยวต่อไปก็อยู่ที่ประมาณ 8.20 น. ขอแนะนำว่าให้ไปเช้าๆ หน่อยสำหรับท่านที่จะไปแบบเช้าไปเย็นกลับ แต่สำหรับท่านที่จะไปค้างซักคืนนั้นไปสายหน่อยก็ได้ รถไฟออกจากสถานีกรุงเทพฯ ใช้เวลาไม่ถึงหนึ่งชั่วโมงก็จะพาเราออกจากสถานีรังสิต ซึ่งเมื่อรถไฟแล่นออกจากสถานีรังสิตท่านก็จะได้เห็นบรรยากาศของชนบทที่แวดล้อมไปด้วยทุ้งข้าวสลับกับบ้านคนเป็นระยะๆ และด้วยระยะทางจากกรุงเทพฯ ถึง จังหวัดพระนครศรีอยุธยานั้นมีระยะทาง (ทางหลวง) แค่ 76 กิโลเมตรเท่านั้น เพียงหนึ่งชั่วโมงกว่าๆ รถไฟก็จะพาท่านมาถึงสถานีที่หมายนั้นก็คือ “สถานีรถไฟอายุธยา”
อันดับแรกเลยที่ผมอยากจะแนะนำเมื่อมาถึงคือ “จดตะรางเวลาเดินทางกลับ” ไว้ก่อน โดยเวลาช่วงเย็นๆ ที่เหมาะน่าจะประมาณเที่ยวเวลา 15.29 น. และ 16.05 น. เมื่อจดเวลากลับแน่นอนแล้วซื้อน้ำเตรียมไว้ล่วงหน้าได้เลย เพราะการมาเที่ยวอยุธยานั้น เวลาส่วนใหญ่เราจะหมดไปกับการเดินชมโบราณสถานต่างๆ เมื่อซื้อน้ำเสร็จแล้วก็ตรงดิ่งไปยังหน้าสถานีจะเห็นรถสามล้อสีแจ๊ดหน้าตาแปลกๆ คล้าย “นกแก้ว” จอดเรียงรายเต็มไปหมด เลือกคันไหนก็ได้เพราะรถทุกคันจะราคาเดียวกัน จะไปไหนก่อนก็บอกกับคนขับไปแล้วคนขับก็จะยื่นเมนูราคามาให้เราเลือก หรือจะเลือกเหมาให้พาเราเที่ยวก็ได้ โดยราคาเหมาแบบตายตัวจะอยู่ที่ 200 บาทต่อหนึ่งชั่วโมงต่อคัน (คันหนึ่งน่าจะนั่งได้ประมาณ 5-6 คน) ซึ่งถ้าไปกันหลายคนก็เฉลี่ยกันไม่แพงเท่าไร


แต่ผมอยากจะแนะนำสำหรับท่านที่ยังไม่ข้อมูลของสถานที่ท่องเที่ยวในอยุธยาเลยก็ให้ไปที่ “สำนักงาน ททท. ภาคกลางเขต 6” ซึ่งที่แนะนำให้ไปที่นั้นก็เพื่อไปขอแผนที่สถานที่ท่องเที่ยวและรายละเอียดต่างๆ ถ้านั่งรถจากสถานีรถไฟไปสำนักงาน ททท. ก็อยู่ในราคา 60-70 บาท ซึ่งถ้านั่งรถไปจริงๆ แล้วก็ถือว่าไกลพอควร เทียบราคากับการนั่งแท็กซี่ในเมืองหลวงก็พอๆ กัน


เมื่อไปถึง ททท. แล้วสิ่งที่จะเห็นเป็นอันดับแรกก็คือป้าย “มรดกโลก” ตั้งเด่นเป็นสง่าอยู่ที่หน้าตึก มรดกโลกนี้ทาง “องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติหรือยูเนสโก (UNESCO)” ได้มีมติรับนครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ซึ่งมีอาณาเขตครอบคลุมอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา และเป็นพื้นที่ที่ได้รับการจัดตั้งเป็นอุทยานประวัติศาสตร์มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2519 ไว้ในบัญชีมรดกโลก เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2534 ณ กรุงคาร์เธจ ประเทศตูนีเซีย พร้อมกับอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย-อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย-อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร อีกด้วย เมื่อมองจากป้ายมรดกโลกไปด้านหลังจะเห็น “ศาลากลางจังหวัดพระนครศรีอยุธยา” ซึ่งเป็นศาลากลางหลังเก่า แต่ที่เด่นสะดุดตาก็คือ รูปปั้นของพระมหากษัตริย์ในราชวงศ์ต่างๆ เช่นสมเด็จพระนเรศวร สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ฯลฯ ซึ่งพระนครศรีอยุธยานั้นในตามที่ทราบกันดีว่า ในอดีตคือราชธานีเก่าของไทยโดยรวมระยะเวลาทั้งสิ้น 417 ปีนับว่าเป็นราชธานีที่มีอายุมากที่สุดของไทย โดยมีราชวงศ์ที่ปรกครองรวมทั้งสิ้น 5 ราชวงศ์ประกอบด้วย ราชวงศ์อู่ทอง ราชวงศ์สุพรรณภูมิ ราชวงศ์สุโขทัย ราชวงศ์ปราสาททอง และราชวงศ์บ้านพลูหลวง มีกษัตริย์ปรกครองทั้งสิ้น 33 พระองค์ โดยมีปฐมกษัตริย์คือ สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง)

 


เมื่อถ่ายรูปและชื่นชมความงามเสร็จแล้วก็เดินเข้าในในตึกทางด้านขวามือจะเห็นสำนักงานท่องเที่ยวอยู่ เดินเข้าไปเลยครับแล้วแจ้งว่าจะขอรับแผนที่ท่องเที่ยว ทางพนักงานก็จะยืนสมุดมาให้เราเซ็น (คล้ายสมุดเซ็นเยี่ยม) นอกจากเราจะได้รับแผ่นที่ท่องเที่ยวในจังหวัดอยุธยาแล้ว ทางสำนักงานท่องเที่ยวก็จะมีแผ่นที่และแหล่งท่องเที่ยวมากมายโดยเฉพาะภาคกลางแจกให้อีกด้วย และภายในสำนักงานแห่งนี้นอกจากอาคารศาลากลางจังหวัดแห่งนี้จะมีสำนักงานท่องเที่ยวแล้วยังมี “หอนิทรรศการประวัติศาสตร์” ให้เราได้เดินชมอีกใครอยากชมก็ตามสบายเลย


เดินชมเสร็จแล้วก็ออกมาจากศาลากลางเดินถึงถนนใหญ่ให้เลี้ยวซ้ายสิ่งที่เห็นเป็นอันดับแรกเลยคือ “สถานีตำรวจท่องเที่ยว” ในส่วนของสถานีนี้ที่ผมเห็นจะมีจักรยานให้เช่าด้วย ถ้าใครคิดว่าเดินไม่ไหวก็ลองเข้าไปไถ่ถามราคาได้ คิดว่าไม่แพงเกินไปนัก จากสถานีตำรวจท่องเที่ยวเดินตรงไปเรื่อยๆ ไม่ไกลนักทางซ้ายอีกเช่นกันจะเป็นที่ตั้งของ “ศาลหลักเมือง” แล้วตรงจากศาลหลักเมืองไปจะมีสี่แยก ซึ่งสี่แยกตรงนี้เรียกว่า “สี่แยกตะแลงแกง” จากสี่แยกเราก็จะเห็นป้ายของ “วังช้างอยุธยา แล เพนียด” อยู่ตรงข้าม




เดินชมเสร็จแล้วก็ออกมาจากศาลากลางเดินถึงถนนใหญ่ให้เลี้ยวซ้ายสิ่งที่เห็นเป็นอันดับแรกเลยคือ “สถานีตำรวจท่องเที่ยว” ในส่วนของสถานีนี้ที่ผมเห็นจะมีจักรยานให้เช่าด้วย ถ้าใครคิดว่าเดินไม่ไหวก็ลองเข้าไปไถ่ถามราคาได้ คิดว่าไม่แพงเกินไปนัก จากสถานีตำรวจท่องเที่ยวเดินตรงไปเรื่อยๆ ไม่ไกลนักทางซ้ายอีกเช่นกันจะเป็นที่ตั้งของ “ศาลหลักเมือง” แล้วตรงจากศาลหลักเมืองไปจะมีสี่แยก ซึ่งสี่แยกตรงนี้เรียกว่า “สี่แยกตะแลงแกง” จากสี่แยกเราก็จะเห็นป้ายของ “วังช้างอยุธยา แล เพนียด” อยู่ตรงข้าม


ปัจจุบันปางช้างในประเทศไทยนั้นมีมากมายไม่ว่าจะเป็นที่ศูนย์ฝึกช้างเชียงดาวจังหวัดเชียงใหม่ ศูนย์อนุรักษ์ช้างไทยจังหวัดลำปาง หมู่บ้ายช้างบ้านตากลางจังหวัดสุรินทร์ แต่ที่ใกล้กรุงเทพฯ มากที่สุดก็เห็นจะเป็นที่ “วังช้างอยุธยา แลเพนียด” จังหวัดอยุธยา ซึ่งปางช้างที่นี่นั้นก็มีช้างอยู่ประมาณ 100 เชือก นักท่องเที่ยวสามารถให้อาหารช้างและสามารถชมความเป็นอยู่ของช้างอย่างใกล้ชิดได้ อีกทั้งยังเปิดให้นักท่องเที่ยวพักแรมในลักษณะ “โฮมสเตย์” ได้อีกด้วย.


แสงศรัทธา ณ ปลายฟ้า เรื่องและภาพ


 

"บ้านนักเขียน" ยินดีเป็นส่วนหนึ่งของนักเขียนและนักอ่านทุกท่าน หากถ้าหากนักเขียน นักอ่าน สำนักพิมพ์มีความประสงค์ที่จะโฆษณาประชาสัมพันธ์งานเขียน ข่าวคราวเกี่ยวกับหนังสือของตนเองหรือของผู้อื่น กรุณาส่งรีวิว ไฟล์ภาพ และรายละเอียดหนังสือหรือข่าวที่จะให้ประชาสัมพันธ์นั้นๆ มาที่ "บ้านนักเขียน" หรือที่ admin@bannakkhian.com และอย่าลืมแวะเข้าไปเยี่ยมกันที่ "บ้านนักเขียน" กันบ้างนะครับ ใครต้องการเขียนเรื่องสั้น นิยาย บทกวี ฯลฯ ทาง "บ้านนักเขียน" ได้เปิดพื้นที่ให้นักเขียน นักอยากเขียนทุกท่านได้โชว์ผลงานผ่าน "บอร์ดนักเขียน" ไม่แน่หากผลงานของท่านเข้าตาบรรณาธิการสำนักพิมพ์ วงวรรณกรรมก็อาจจะมีนักเขียนดีผลงานเด่นเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งคนก็ได้ ขอบคุณครับ.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น